ความแตกต่างของเทคโนโลยีเสมือนจริง VR AR และ MR
เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality Technology) มีมาหลายสิบปีในต่างประเทศ และเป็นที่รู้จักของประเทศไทยในเมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีหลายๆแบรนด์นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในกิจกรรมทางการตลาด โดยนำเอามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร และรวมถึงการสร้างแบรนด์ต่างๆ เทคโนโลยีเสมือนจริงนั้นอาจเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในหลายอุตสาหกรรมในอนาคต
Virtual Reality (VR) การจำลองโลกเสมือนจริง
Virtual Reality (VR) หมายถึง การสร้างสภาพแวดล้อมดิจิทัลแบบเสมือนจริงขึ้นมาแทนที่โลกแห่งความเป็นจริง โดยผู้ใช้งานนั้นจะสามารถสัมผัสได้ทั้งภาพ เสียง และสามารถรู้สึกได้ว่าตัวเองนั้นได้เข้าไปอยู่ในโลกของดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นมาผ่าน VR Headset ที่นำมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือเป็นแบบ Standalone คล้ายๆกับการที่เล่นเกม และมีฉากจริงสถานที่จริง หรือฉากที่ถูกสร้างขึ้นมา และเราเข้าไปอยู่ในเกมนั้นด้วยตัวเอง เราสามารถมองทุกอย่างได้ทั้ง 360 องศา ด้วยจุดเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมเกมจนมาปรับใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น
- การชมห้องหรือบ้านตัวอย่างผ่าน VR Headset
- การชมพิพิธภัณฑ์แบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ หรือ VR Headset
- การทำสื่อการสอนทางการแพทย์ ด้วยการจำลองการผ่าตัด
Augmented Reality (AR) การนำวัตถุมาอยู่ในโลกจริง
Augmented Reality (AR) หมายถึง การซ้อนทับเนื้อหาดิจิทัลประเภทต่างๆ ในรูปแบบของสามมิติ วิดีโอ ข้อความ หรือจะเป็นข้อมูลประเภท Interactive บนสภาพแวดล้อมจริง ด้วยการมองผ่านแอพพลิเคชันบนมือถือ แทปเล็ต นอกเหนือจากการแสดงผลผ่านมือถือหรือแทปเล็ตแล้ว เทคโนโลยี AR ยังสามารถสร้างผ่านกล้อง หรือแว่นตาแบบพิเศษ เราจะสามารถมองเห็นภาพ หรือข้อความในรูปแบบสามมิติขึ้นมาในสภาพแวดล้อมจริง เช่น
- ร้านขายเสื้อผ้าให้ลูกค้าลองใส่ชุดผ่านหน้าจอ และสั่งซื้อออนไลน์ ที่ใช้เทคโนโลยี AR
- อิเกีย (IKEA) ทำแอพพลิเคชันให้ลูกค้าทดลองเอาเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบสามมิติไปลองวางในบ้านก่อนการทำการตัดสินใจสั่งซื้อMixed Reality (MR) ประสบการณ์ไร้รอยต่อ
Mixed Reality (MR) หมายถึง MR เป็นหนึ่งในรูปแบบ AR ที่ดูมีความเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น และสร้างประสบการณ์ (Immersive Experience) ได้ดีมากยิ่งขึ้นผ่านกล้องฮาโลเลนส์ (Halolens) หรือ Mixed Reality (MR) Headset หรือการผสมผสานระหว่างวัตถุเสมือนจริงให้เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง ที่มีปฏิสัมพันธ์และสามารถโต้ตอบ (Interact) กับผู้ใช้งานได้นั่นเอง เช่น
- การแพทย์ได้นำ MR มาใช้ในการเรียนรู้ระบบภายในร่างกาย การฝึกสอนการผ่าตัด
- Microsoft ทำแว่น Halolens ขึ้นมาเพื่อใช้ในธุรกิจประเภทต่างๆ
|